วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปรับตัวทางเพศ

                 เมื่อเด็กเจริญเติบโตจนเป็นวัยรุ่น ความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายและจิตใจย่อมมีมากขึ้น อุปนิสัยใจคอเปลี่ยนไป ความรู้สึกนึกคิดที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องเพศตรงข้ามซึ่งมีขึ้นมาพร้อม ๆ กับความต้องการทางเพศจนทำให้เกิดแรงขับทางเพศ (Sex Drive)ซึ่งเป็นแรงขับที่เกิดจากสัญชาติญาณทางเพศตามธรรมชาติของมนุษย์ และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองเพศเริ่มมีขึ้นในระหว่างนี้ความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจก็จะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ตามลักษณะความเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

การวางตัวต่อเพศตรงข้าม 

การวางตัวต่อเพศตรงข้าม หมายถึง การที่ชายหรือหญิงประพฤติปฏิบัติต่อกัน เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันในแบบเพื่อน แบบพี่น้อง หรือแบบคู่รักภายใต้สภาพแวดล้อมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ

การวางตัวต่อเพศตรงข้ามแบบเพื่อน

        
 การวางตัวต่อเพศตรงข้ามแบบเพื่อน บุคคลควรปฏิบัติต่อเพศตรงข้ามในด้านการพูด การแสดงกิริยาท่าทาง และความประพฤติอื่น ๆ ที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายชายไม่ล่วงเกินฝ่ายหญิงหรือที่เรียกว่า แต๊ะอั๋ง เพราะธรรมชาติของผู้ชายแล้วมักถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิง ซึ่งบางครั้งผู้หญิงจะคิดไม่ถึง การพูดคำสุภาพต่อกัน ควรช่วยเหลือกันในสิ่งที่พอจะช่วยกันได้ รู้จักแสดงความขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากเพศตรงข้าม ไม่ทำให้เพื่อนอับอาย เพราะเราไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันเป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน มีความจริงใจต่อกัน ไม่นินทากันลับหลัง มีความห่วงใยและเอื้ออาทรต่อกัน เป็นต้น ถ้าปฏิบัติต่อกันได้เช่นนี้จะทำให้มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเดียวกันและเพศตรงข้าม

การวางตัวต่อเพศตรงข้ามแบบพี่น้อง 

มีทั้งฝ่ายชายเป็นพี่ฝ่ายหญิงเป็นน้องและฝ่ายชายเป็นน้องฝ่ายหญิงเป็นพี่ซึ่งการปฏิบัติ  โดยทั่วไปก็เหมือน ๆ กับการวางตัวแบบเพื่อน แต่คนเป็นพี่ต้องเสียสละมากกว่า มีความเอ็นดูต่อน้อง ปกป้องน้อง ช่วยเหลือน้อง ให้คำแนะนำสั่งสอนน้องตามสมควร ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่น้อง วางตัวให้เป็นที่เคารพนับถือของน้อง สำหรับคนที่เป็นน้องก็ต้องให้ความเคารพนับถือพี่ เชื่อฟังช่วยเหลือพี่เมื่อมีโอกาสนอกจากนี้แล้วยังมีการคบกันแบบคู่รักที่แฝงมาในคราบของพี่น้อง ซึ่งฝ่ายหนึ่งอาจไม่รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้คิดแบบพี่น้อง หรืออาจจะรู้กันทั้งสองฝ่าย แต่บอกว่าเป็นพี่น้องเพื่อปิดบังผู้ใหญ่ แต่การคบกันแบบพี่น้องหรือแบบคู่รักนั้นผู้ใหญ่จะมองออกเพราะพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกันนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน


การวางตัวต่อเพศตรงข้ามแบบคู่รัก 

       การคบกันแบบคู่รักอาจจะเริ่มต้นมาจากการคบกันแบบเพื่อนหรือการคบกันแบบพี่น้องมาก่อน แล้วก็แปรเปลี่ยนมาเป็นแบบคู่รัก หรืออาจจะคบกันแบบคู่รักเลยก็ได้ อาจจะชอบพร้อม ๆ กัน หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายชอบก่อน แต่ส่วนมากฝ่ายชายมักจะแสดงออกก่อน เพราะมีความกล้ามากกว่าฝ่ายหญิง แต่ในสังคมปัจจุบันเริ่มแปรเปลี่ยนไปมากแล้ว เพราะฝ่ายหญิงมีความกล้าขึ้น ความเขินอายน้อยลง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการทำลายจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมไทย 


วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อปัญหา

       วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง  ซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่น  ดื้อ  ไม่เชื่อฟัง  ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ  มีแฟนและมีเพศสัมพันธุ์  ใช้ยาเสพติด  ทำผิดกฎหมาย  ปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยาก  การป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็น  และสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว  การป้องกันดังกล่าว  ควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็ก  เด็กที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพดี   จะมีภูมิต้านทานโรคทางจิตเวชต่างๆ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้อย่างมากเช่นกัน  พ่อแม่และครูอาจารย์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหลาย  จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเช่นเดียวกัน


สุขภาพจิตหมายถึงอะไร

   "สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมี สัมพันธภาพ  และรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ วางตัวได้อย่างเหมาะสม และปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกาย"

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต 

    สุขภาพจิตที่ดี เกิดจากร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง  ความสามารถทางจิตใจที่ปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์  สภาพครอบครัวที่อบอุ่นและสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี

สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างไร

          คนที่มีสุขภาพจิตดี  จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพที่มี   ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อตนเอง  และต่อผู้อื่น  ไม่เกิดอาการทางจิตเวช  หรือโรคทางจิตเวชได้ง่าย  ถึงแม้ชีวิตจะเผชิญปัญหามาก  ก็สามารถแก้ไขผ่านพ้นไปได้ด้วยดี าง

คนที่สุขภาพจิตไม่ดี  มักมีปัญหาในการปรับตัว  มีอาการทางจิตเวช  เช่น  ความเครียด  ซึมเศร้า  แม้ว่าจะเจอปัญหาเล็กๆ  ก็ปรับตัวได้ลำบาก   มีปัญหาพฤติกรรมได้บ่อย  มักเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชได้ง่าย  และฟื้นตัวไม่ได้ดี

ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย

·        ไม่เรียนหนังสือ
·        ติดเกมส์
·        ติดการพนัน
·        การเรียน  การปรับตัว
·        ปัญหาทางเพศ  สาเหตุ
·        การใช้และติดยาเสพติด
·        พฤติกรรมผิดปกติ Conduct  disorder

·        โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
·        บุคลิกภาพผิดปกติตัวได้อย่าง


สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น

·    ร่างกาย  การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี  สารสื่อนำประสาท  โรคทางกาย โรคระบบประสาท   สารพิษ 
·    จิตใจ  บุคลิกภาพ  ความคิด  การมองโลก  การปรับตัว 
·    สังคม  การเลี้ยงดู  ปัญหาของพ่อแม่  ตัวอย่างของสังคม  สื่อต่างๆ



สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น


·        ร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี สารสื่อนำประสาท โรคทางกาย โรคระบบประสาท   สารพิษ 
·        จิตใจ บุคลิกภาพ ความคิด การมองโลก  การปรับตัว 
·        สังคม การเลี้ยงดู ปัญหาของพ่อแม่  ตัวอย่างของสังคม  สื่อต่างๆ


แนวทางการแก้ไข/ช่วยเหลือเมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา

1.               สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.               รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
3.               เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.               มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.               กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.               ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7.               เป็นแบบอย่างที่ดี 
8.               ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.               ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
10.         ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11.         เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
12.         จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม 
13.         ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  แก้ไขปัญหาครอบครัว





เหมาะสม และปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกาย"